สาขาวิชานวัตกรรมสังคม (Social Innovation)

          นวัตกรรมสังคม เป็นหลักสูตรที่จัดตั้งขึ้นจากความตั้งใจของคณาจารย์กลุ่มสหวิทยาการสังคมศาสตร์ ที่ต้องการให้มีหลักสูตรเกี่ยวกับการศึกษาทางด้านสังคมศาสตร์เพื่อที่จะเปิดกว้างให้กับนักศึกษาที่สนใจเรียนในคณะศิลปศาสตร์ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เริ่มดำเนินการยกร่างหลักสูตรมาตั้งแต่ปี 2564 ได้พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร จนได้รับการพิจารณาเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2566 และให้เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกเข้าเรียนในปีการศึกษา 2566

          หลักสูตรนวัตกรรมสังคม เป็นหลักสูตรใหม่ที่มุ่งตอบสนองความต้องการของสังคมตามทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในโลกยุคใหม่ โดยมุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถออกแบบและปฏิบัติการเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาในรูปแบบใหม่ ๆ โดยอาจมีลักษณะเป็นแนวคิด กระบวนการ ผลิตภัณฑ์ หรือเป็นการสร้างความเปลี่ยนแปลงอันมีเป้าหมายเพื่อสร้างสวัสดิการ ความสงบสุข หรือความเป็นอยู่ที่ดีของบุคคล ชุมชนและสังคม ด้วยการใช้ความรู้สหวิทยาการสังคมศาสตร์ และองค์ความรู้ใน 3 มิติ คือ การพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม การจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม และการพัฒนาสังคม

center

     ปรัชญา

        สร้างบัณฑิตนักสังคมศาสตร์ที่มีศักยภาพในการสร้างนวัตกรรมสังคม อันได้แก่ องค์ความรู้ใหม่ กลไกใหม่ รวมถึงสิ่งใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการของคนในสังคมและหรือแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมใน 3 มิติ คือ การพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม การจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม และการพัฒนาสังคม เพื่อนำพาประเทศไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและทัดเทียมมาตรฐานสากล และเป็นบัณฑิตที่มีความสามารถจัดการ Soft Power ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     ความสำคัญ        

        เป็นหลักสูตรที่การสร้างนักสังคมศาสตร์และนวัตกรทางสังคมที่มีความเชี่ยวชาญและมีศักยภาพในการสร้างนวัตกรรมสังคม อันได้แก่ องค์ความรู้ใหม่ กระบวนการใหม่ กลไกใหม่ แนวทางใหม่ สิ่งใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการของคนในสังคมและ/หรือแก้ปัญหาสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม สร้างรายได้และเศรษฐกิจชุมชนใน 3 มิติ ได้แก่ การพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม การจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม และการพัฒนาสังคม

   วัตถุประสงค์

  1. ผลิตบัณฑิตที่สามารถบอกเล่าสถานการณ์ และอธิบายกระบวนการนวัตกรรมสังคมที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี พร้อมกับประยุกต์ใช้แนวคิด ทฤษฎี เครื่องมือทางสังคมศาสตร์ นามาวิ เคราะห์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม และออกแบบกระบวนการ ระบบ แผนงาน หรือนวัตกรรมสังคมที่สามารถแก้ปัญหาให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่

  2. สร้างบัณฑิตที่มีทักษะความเป็นผู้ประกอบการทางสังคมและวัฒนธรรม (Social and cultural entrepreneurship) มีทักษะการทางานร่วมกับผู้อื่นตามบทบาทหน้าที่ และมีทักษะการใช้ภาษาและการสื่อสาร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการทางาน
  3. ผลิตบัณฑิตที่มีความเห็นอกเห็นใจคนอื่น (Valuing) มีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้ที่อยู่ร่วมกันในสังคม
  4. สร้างบัณฑิตให้เป็นผู้ที่มีความมานะอดทนในการเรียนรู้ การทางาน และการใช้ชีวิต และเป็นผู้ที่รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคม (Social literacy) และเทคโนโลยี (Technology literacy)




เว็บไซต์คณะศิลปศาสตร์