สาขาวิชานวัตกรรมสังคม
SOCIAL INNOVATION

     หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมสังคม

Full name (English) : Bachelor of Arts Program in Social Innovation

ชื่อย่อ : ศศ.บ. (นวัตกรรมสังคม)

Abbr. name (English) : B.A. (Social Innovation)

      ปรัชญาหลักสูตร

"สร้างบัณฑิตนักสังคมศาสตร์ที่มีศักยภาพในการสร้างนวัตกรรมสังคม อันได้แก่ องค์ความรู้ใหม่ กลไกใหม่ รวมถึงสิ่งใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการของคนในสังคมและหรือแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมใน 3 มิติ คือ การพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม การจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม และการพัฒนาสังคม เพื่อนำพาประเทศไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและทัดเทียมมาตรฐานสากลและเป็นบัณฑิตที่มีความสามารถในการจัดการ Soft Power ได้อย่างมีประสิทธิภาพ"

ข่าวประชาสัมพันธ์และกิจกรรม

วันที่ 2 มีนาคม 2568 นักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมสังคมชั้นปีที่ 2 ในรายวิชา 10705202 การวิเคราะห์ปัญหาและศักยภาพชุมชน ได้เรียนรู้และฝึกทักษะการใช้เครื่องมือทางมานุษยวิทยาในการวิเคราะห์ปัญหาและศักยภาพชุมชน
วันที่ 2 มีนาคม 2568 นักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมสังคมชั้นปีที่ 2 ในรายวิชา 10705202 การวิเคราะห์ปัญหาและศักยภาพชุมชน ได้เรียนรู้และฝึกทักษะการใช้เครื่องมือทางมานุษยวิทยาในการวิเคราะห์ปัญหาและศักยภาพชุมชน อันได้แก่ ประวัติศาสตร์ชุมชน โครงสร้างองค์กรชุมชน แผนที่เดินดิน และปฏิทินชุมชน ณ ชุมชนทุ่งหมื่นน้อย ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ งานนี้ได้ทั้งองค์ความรู้และได้ฝึกทักษะปฏิบัติการจริงในการศึกษาข้อมูลและศักยภาพชุมชน และต้องขอขอบพระคุณ รศ.รังสรรค์ จันต๊ะ วิทยากรบรรยาย ผู้เป็นทั้งครูและปราชญ์ในชุมชนในการให้ความรู้ ข้อเสนอแนะที่มีคุณค่า และช่วยนัดหมายกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในชุมชน
6 มีนาคม 2568
โครงการ SI: เรียนรู้สังคมและชุมชน
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมาสาขาวิชานวัตกรรมสังคมได้จัดกิจกรรมศึกษาเรียนรู้ชุมชน ภายใต้โครงการ SI: เรียนรู้สังคมและชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ได้ฝึกประสบการณ์ในการเรียนรู้ข้อมูลชุมชนรวมทั้งได้พัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานด้านนวัตกรรมสังคม เช่น การทำงานร่วมกับผู้อื่น การสื่อสาร การแก้ไขปัญหา เป็นต้น โดยได้ความร่วมมือเป็นอย่างดีกับผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ในพื้นที่ชุมชนแม่ดู่ และชุมชนหนองทราย ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ในการบรรยายให้ความรู้และนำเยี่ยมชมชุมชน
25 กุมภาพันธ์ 2568
เข้าร่วมและนำเสนอผลงานวิจัยทั้งระดับนานาชาติและระดับชาติ ในงานประชุมวิชาการ 3rd National Conference and 1st International Conference: Innovations in Language, Culture, Communication, and Well-Being for Sustainable Development
วันที่ 23 สิงหาคม 2567 คณาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรนวัตกรรมสังคม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เข้าร่วมและนำเสนอผลงานวิจัยทั้งระดับนานาชาติและระดับชาติ ในงานประชุมวิชาการ 3rd National Conference and 1st International Conference: Innovations in Language, Culture, Communication, and Well-Being for Sustainable Development ณ โรงแรมเชียงใหม่ออคิด จ.เชียงใหม่โดย 1) อ.พสุนิต สารมาศ นำเสนอผลงานวิจัยในหัวข้อเรื่อง "ต้องลายไทใหญ่" ในบริบทเศรษฐกิจสร้างสรรค์และการท่องเที่ยวจังหวัดแม่ฮ่องสอน 2) ผศ.ดร.จิรวัฒน์ รักชาติ นำเสนอผลงานวิจัยในหัวข้อเรื่อง Karen Youths Movement against Thailand's Development Projects: A Case Study of Karen Youths in Omkoi District, Chiang Mai, Thailand และ 3) ผศ.ดร.อิทธิพงษ์ ทองศรีเกตุ นำเสนอผลงานวิจัยในหัวข้อเรื่อง ประสบการณ์และปฏิบัติการของคนในพื้นที่ชายแดนแม่ฮ่องสอนกับโรคระบาดโควิด-19 โดยบรรยากาศในงานมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงวิชาการ สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับนักวิชาการสถาบันอื่น รวมถึงเป็นโอกาสอันดีในการเรียนรู้แนวคิด ทฤษฏีทางวิชาการ และประเด็นทางสังคมใหม่ ๆ เพื่อเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมสังคมในยุคปัจจุบัน
19 กุมภาพันธ์ 2568
โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ในรายวิชาหลักสูตรนวัตกรรมสังคม
เมื่อวันที่ 8 – 11 กุมภาพันธ์ 2568 นักศึกษาชั้นปีที่ 2 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมสังคม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และคณาจารย์ประจำหลักสูตร ผศ.ดร.จิรวัฒน์ รักชาติ อ.มนฤทัย ไชยวิเศษ และอ.วิไลวรรณ รัตนพันธ์ ได้เดินทางไปศึกษาดูงาน ณ พิพิธบางลำพู เขตพระนคร สำนักงานเขตบางพลัดและชุมชนบ้านมั่นคงฟ้าใหม่ เขตบางพลัด ภายใต้ “โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ในรายวิชาหลักสูตรนวัตกรรมสังคม” ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาทักษะความรู้ด้านนวัตกรรมสังคม การบริหารจัดการและพัฒนาชุมชนเมือง รวมถึงความเป็นชุมชนเมืองมหานครในการศึกษาดูงานครั้งนี้ นักศึกษาได้รับความรู้ ความเข้าใจด้านนวัตกรรมสังคม การจัดการชุมชนเมืองและเกิดความเข้าใจความเป็นชุมชนเมืองมากขึ้น ทั้งยังได้ฝึกหัดทำกิจกรรมในรายวิชา 10705202 การวิเคราะห์ปัญหาและศักยภาพชุมชน รายวิชา 10705205 นิเวศน์มนุษย์และสังคม รายวิชา 10705206 ประวัติศาสตร์นวัตกรรมสังคม อย่างเข้มข้น เพื่อประกอบสร้างความเป็น “นวัตกรสังคม” (Social innovator) ที่สมบูรณ์เป็นผู้มีความสามารถในการพัฒนาวิธีคิดเพื่อสร้างนวัตกรรมสังคมสำหรับแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคตโอกาสนี้ทางหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมสังคม ต้องขอขอบพระคุณหน่วยงานพิพิธบางลำพูที่ได้อำนวยความสะดวก สร้างความรู้ ความเข้าใจด้านประวัติศาสตร์นวัตกรรมสังคมของชุมชนเมือง และขอขอบพระคุณ คุณศิริกานต์ คุสินธุ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตบางพลัด หัวหน้าฝ่ายพัฒนาชุมชน นักพัฒนาชุมชน และผู้นำชุมชนบ้านมั่นคงฟ้าใหม่ เขตบางพลัด ที่ให้การต้อนรับ ให้ความรู้ด้านการบริหารจัดการชุมชนเมืองและสร้างประสบการณ์ด้านการพัฒนาชุมชนเมืองแก่นักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมสังคมเป็นอย่างดี
19 กุมภาพันธ์ 2568
จัดกิจกรรมการบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “ภัยพิบัติ กรณีน้ำท่วมเชียงราย : การรับมือและการจัดการ”
หลักสูตรนวัตกรรมสังคม จัดกิจกรรมการบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “ภัยพิบัติ กรณีน้ำท่วมเชียงราย : การรับมือและการจัดการ” เมื่อวันจันทร์ที่ 23 พ.ศ.2568 บรรยายผ่านโปรแกรม Zoom โดยมี อ.ดร.สืบสกุล กิจนุกร อาจารย์ประจำสำนักวิชานวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เป็นวิทยากรบรรยาย>>การบรรยายครั้งนี้ประกอบการเรียนรายวิชานิเวศน์มนุษย์และสังคม ที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาที่สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง สังคมวัฒนธรรมการเมืองและทรัพยากรธรรมชาติสภาพแวดล้อม ในบริบทสถานการณ์ต่าง ๆ และแนวทางจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วม ยั่งยืนและเป็นธรรม
19 กุมภาพันธ์ 2568
โครงการ SI: เรียนรู้ตน สังคม และชุมชน
ความสัมพันธ์ และการเรียนรู้ (Relationship and Learning)เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา หลักสูตรนวัตกรรมสังคม ได้จัดโครงการ SI: เรียนรู้ตน สังคม และชุมชนขึ้นเพื่อให้นักศึกษามีโอกาสในการเรียนรู้และเข้าใจความเป็นนักนวัตกรรมสังคม และสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้อง ณ อาคารแผ่พืชน์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ภายในโครงการมีกิจกรรมการบรรยายจากประธานหลักสูตร การร่วมเล่นกีฬาระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้อง และการแลกเปลี่ยนของขวัญร่วมกันทั้งอาจารย์และนักศึกษาในหลักสูตร ซึ่งช่วยกระชับความสัมพันธ์และเสริมสร้างการเรียนรู้ให้กับนักศึกษา....#การเรียนรู้แบบออสโมซิส (Teaching By Osmosis) #นวัตกรรมสังคม การศึกษาที่ก่อให้เกิดความคิดใหม่ๆ #Social Innovation #MJU'LA
19 กุมภาพันธ์ 2568
นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชานวัตกรรมสังคม ได้เข้ารับการอบรมการสืบค้นสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการวิจัย (Reference Databases Training)
เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชานวัตกรรมสังคม ได้เข้ารับการอบรมการสืบค้นสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการวิจัย (Reference Databases Training) ในฐานข้อมูล TDC และ Thai Jo เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้รู้เทคนิคและวิธีการสืบค้นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์แต่ละประเภท จากฐานข้อมูลวิชาการ ตลอดจนวิธีการคัดกรองผลลัพธ์การสืบค้นให้ตรงความต้องการ และได้ทดลองสืบค้นงานวิจัย แนวคิด ทฤษฎี ในรายวิชา 10705203 การจัดการวัฒนธรรมในโลกสมัยใหม่ โดยได้รับเกียรติจากเจ้าหน้าที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นวิทยากรในการบรรยาย
17 ธันวาคม 2567
นิทรรศการแสดงผลงานวิจัย "ปอยลายไต ฮางหลี"
มื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา นักศึกษาหลักสูตรนวัตกรรมสังคม ชั้นปีที่ 2 ได้เข้าร่วมนิทรรศการแสดงผลงานวิจัย "ปอยลายไต ฮางหลี" ภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง การยกระดับหัตถศิลป์ต้องลายไทใหญ่ด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยมีอาจารย์พสุนิต สารมาศ อาจารย์ประจำหลักสูตรฯ เป็นหัวหน้าโครงการ ณ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) เชียงใหม่การเข้าชมนิทรรศการและการรับฟังการเสวนาภายใต้กิจกรรมดังกล่าว เปิดโอกาสนักศึกษาได้เรียนรู้การนำวัฒนธรรมท้องถิ่นมาสร้างสรรค์ออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์(ใหม่) ผ่านการศึกษาวิจัยจนสามารถสร้างเป็นผลงานอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งนักศึกษาต่างให้ความสนใจและได้ร่วมแลกเปลี่ยนกับคณะผู้วิจัยและวิทยากรที่เข้าร่วมเสวนา...
17 ธันวาคม 2567
เวทีเสวนาเรื่อง “แนวทางการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและการจัดการทรัพยากรที่เป็นธรรม”
ระหว่างวันที่ 6 – 8 กันยายน 2567 นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปี 2 หลักสูตรนวัตกรรมสังคม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับศูนย์ศึกษานวัตกรรมสังคมและสันติภาพ (SIPS) เดินทางไปหมู่บ้านกะเบอะดิน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ เพื่อจัดเวทีเสวนาเรื่อง “แนวทางการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและการจัดการทรัพยากรที่เป็นธรรม” ภายใต้โครงการสร้างความเข้มแข็งและการจัดการปกครองที่เป็นธรรม ที่ดำเนินงานโดยศูนย์ศึกษานวัตกรรมสังคมและสันติภาพ (SIPS) งานเวทีเสวนานี้ได้รับเกียรติจากคุณคัมภีร์ สมัยอาทร (นายกองค์การบริหารส่วนตำบลอมก๋อย) คุณณัฐทิตา วุฒิศีลวัต (ตัวแทนเยาวชนบ้านกะเบอะดิน) คุณแสงดาว พลทวิช (ตัวแทนชาวบ้านกะเบอะดิน) คุณพรชิตา ฟ้าประทานไพร (ตัวแทนเยาวชนกะเบอะดินและตัวแทนภาคประชาสังคม) ผู้ร่วมเสวนาต่างแลกเปลี่ยนถึงแนวทางการจัดสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและการจัดการทรัพยากรที่เป็นธรรมได้อย่างน่าสนใจ ซึ่งในงานนี้มีชาวบ้านกะเบอะดินและนักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมสังคมร่วมรับฟังเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นในช่วงเวลาที่เดินทางจัดกิจกรรมที่บ้านกะเบอะดิน นักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมสังคมได้เรียนรู้วิถีชีวิตชนเผ่ากะเหรี่ยง การประกอบการเพื่อสังคมบนพื้นที่สูง ได้มีโอกาสพักอาศัยกับชาวบ้านกะเบอะดิน ลงพื้นที่ศึกษาชุมชนและได้เรียนรู้ประเด็นทางสังคมที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนและมุมมองด้านสังคมอย่างหลากหลาย
17 ธันวาคม 2567
หลักสูตรนวัตกรรมสังคมหารือกับโครงการธนาคารเวลา
โครงการธนาคารเวลา (Time Bank) เป็นแนวคิดในการรับฝากเวลาแทนเงิน และ เวลาที่ว่านี้ หมายถึง ช่วงระหว่างที่เราทำงานช่วยเหลือผู้อื่น แทนที่ควรจะได้ค่าตอบแทนเป็นตัวเงิน แต่เปลี่ยนเป็นเวลานำไปออมในบัญชีธนาคารเวลาของเราแทน ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ของสังคมไทย ซึ่งอาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก แต่ในอนาคตน่าจะตอบโจทย์กับสังคมไทยที่เริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การช่วยเหลือกันในรูปแบบของธนาคารเวลาย่อมเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ ด้วยวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของหลักสูตรนวัตกรรมสังคมที่ต้องการให้หลักสูตรมีประสบการณ์ใหม่ๆ จึงมีการหาความร่วมมือกับโครงการธนาคารเวลา เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2567 เพื่อให้นักศึกษาของหลักสูตรได้เรียนรู้นวัตกรรมใหม่ๆ รวมถึงได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆของโครงการภายในอนาคต
19 พฤศจิกายน 2567