สาขาวิชานวัตกรรมสังคม
SOCIAL INNOVATION
นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชานวัตกรรมสังคม ได้เข้ารับการอบรมการสืบค้นสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการวิจัย (Reference Databases Training)
เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชานวัตกรรมสังคม ได้เข้ารับการอบรมการสืบค้นสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการวิจัย (Reference Databases Training) ในฐานข้อมูล TDC และ Thai Jo เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้รู้เทคนิคและวิธีการสืบค้นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์แต่ละประเภท จากฐานข้อมูลวิชาการ ตลอดจนวิธีการคัดกรองผลลัพธ์การสืบค้นให้ตรงความต้องการ และได้ทดลองสืบค้นงานวิจัย แนวคิด ทฤษฎี ในรายวิชา 10705203 การจัดการวัฒนธรรมในโลกสมัยใหม่ โดยได้รับเกียรติจากเจ้าหน้าที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นวิทยากรในการบรรยาย
17 ธันวาคม 2567     |      23
นิทรรศการแสดงผลงานวิจัย "ปอยลายไต ฮางหลี"
มื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา นักศึกษาหลักสูตรนวัตกรรมสังคม ชั้นปีที่ 2 ได้เข้าร่วมนิทรรศการแสดงผลงานวิจัย "ปอยลายไต ฮางหลี" ภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง การยกระดับหัตถศิลป์ต้องลายไทใหญ่ด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยมีอาจารย์พสุนิต สารมาศ อาจารย์ประจำหลักสูตรฯ เป็นหัวหน้าโครงการ ณ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) เชียงใหม่การเข้าชมนิทรรศการและการรับฟังการเสวนาภายใต้กิจกรรมดังกล่าว เปิดโอกาสนักศึกษาได้เรียนรู้การนำวัฒนธรรมท้องถิ่นมาสร้างสรรค์ออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์(ใหม่) ผ่านการศึกษาวิจัยจนสามารถสร้างเป็นผลงานอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งนักศึกษาต่างให้ความสนใจและได้ร่วมแลกเปลี่ยนกับคณะผู้วิจัยและวิทยากรที่เข้าร่วมเสวนา...
17 ธันวาคม 2567     |      19
เวทีเสวนาเรื่อง “แนวทางการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและการจัดการทรัพยากรที่เป็นธรรม”
ระหว่างวันที่ 6 – 8 กันยายน 2567 นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปี 2 หลักสูตรนวัตกรรมสังคม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับศูนย์ศึกษานวัตกรรมสังคมและสันติภาพ (SIPS) เดินทางไปหมู่บ้านกะเบอะดิน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ เพื่อจัดเวทีเสวนาเรื่อง “แนวทางการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและการจัดการทรัพยากรที่เป็นธรรม” ภายใต้โครงการสร้างความเข้มแข็งและการจัดการปกครองที่เป็นธรรม ที่ดำเนินงานโดยศูนย์ศึกษานวัตกรรมสังคมและสันติภาพ (SIPS) งานเวทีเสวนานี้ได้รับเกียรติจากคุณคัมภีร์ สมัยอาทร (นายกองค์การบริหารส่วนตำบลอมก๋อย) คุณณัฐทิตา วุฒิศีลวัต (ตัวแทนเยาวชนบ้านกะเบอะดิน) คุณแสงดาว พลทวิช (ตัวแทนชาวบ้านกะเบอะดิน) คุณพรชิตา ฟ้าประทานไพร (ตัวแทนเยาวชนกะเบอะดินและตัวแทนภาคประชาสังคม) ผู้ร่วมเสวนาต่างแลกเปลี่ยนถึงแนวทางการจัดสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและการจัดการทรัพยากรที่เป็นธรรมได้อย่างน่าสนใจ ซึ่งในงานนี้มีชาวบ้านกะเบอะดินและนักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมสังคมร่วมรับฟังเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นในช่วงเวลาที่เดินทางจัดกิจกรรมที่บ้านกะเบอะดิน นักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมสังคมได้เรียนรู้วิถีชีวิตชนเผ่ากะเหรี่ยง การประกอบการเพื่อสังคมบนพื้นที่สูง ได้มีโอกาสพักอาศัยกับชาวบ้านกะเบอะดิน ลงพื้นที่ศึกษาชุมชนและได้เรียนรู้ประเด็นทางสังคมที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนและมุมมองด้านสังคมอย่างหลากหลาย
17 ธันวาคม 2567     |      16
หลักสูตรนวัตกรรมสังคมหารือกับโครงการธนาคารเวลา
โครงการธนาคารเวลา (Time Bank) เป็นแนวคิดในการรับฝากเวลาแทนเงิน และ เวลาที่ว่านี้ หมายถึง ช่วงระหว่างที่เราทำงานช่วยเหลือผู้อื่น แทนที่ควรจะได้ค่าตอบแทนเป็นตัวเงิน แต่เปลี่ยนเป็นเวลานำไปออมในบัญชีธนาคารเวลาของเราแทน ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ของสังคมไทย ซึ่งอาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก แต่ในอนาคตน่าจะตอบโจทย์กับสังคมไทยที่เริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การช่วยเหลือกันในรูปแบบของธนาคารเวลาย่อมเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ ด้วยวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของหลักสูตรนวัตกรรมสังคมที่ต้องการให้หลักสูตรมีประสบการณ์ใหม่ๆ จึงมีการหาความร่วมมือกับโครงการธนาคารเวลา เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2567 เพื่อให้นักศึกษาของหลักสูตรได้เรียนรู้นวัตกรรมใหม่ๆ รวมถึงได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆของโครงการภายในอนาคต
19 พฤศจิกายน 2567     |      25
ทั้งหมด 1 หน้า