สาขาวิชานวัตกรรมสังคม
SOCIAL INNOVATION

โครงการธนาคารเวลา (Time Bank) เป็นแนวคิดในการรับฝากเวลาแทนเงิน และ เวลาที่ว่านี้ หมายถึง ช่วงระหว่างที่เราทำงานช่วยเหลือผู้อื่น แทนที่ควรจะได้ค่าตอบแทนเป็นตัวเงิน แต่เปลี่ยนเป็นเวลานำไปออมในบัญชีธนาคารเวลาของเราแทน ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ของสังคมไทย ซึ่งอาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก แต่ในอนาคตน่าจะตอบโจทย์กับสังคมไทยที่เริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การช่วยเหลือกันในรูปแบบของธนาคารเวลาย่อมเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ ด้วยวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของหลักสูตรนวัตกรรมสังคมที่ต้องการให้หลักสูตรมีประสบการณ์ใหม่ๆ จึงมีการหาความร่วมมือกับโครงการธนาคารเวลา เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2567 เพื่อให้นักศึกษาของหลักสูตรได้เรียนรู้นวัตกรรมใหม่ๆ รวมถึงได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆของโครงการภายในอนาคต

ปรับปรุงข้อมูล : 19/11/2567 9:23:35     ที่มา : สาขาวิชานวัตกรรมสังคม     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 25

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

วันที่ 2 มีนาคม 2568 นักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมสังคมชั้นปีที่ 2 ในรายวิชา 10705202 การวิเคราะห์ปัญหาและศักยภาพชุมชน ได้เรียนรู้และฝึกทักษะการใช้เครื่องมือทางมานุษยวิทยาในการวิเคราะห์ปัญหาและศักยภาพชุมชน
วันที่ 2 มีนาคม 2568 นักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมสังคมชั้นปีที่ 2 ในรายวิชา 10705202 การวิเคราะห์ปัญหาและศักยภาพชุมชน ได้เรียนรู้และฝึกทักษะการใช้เครื่องมือทางมานุษยวิทยาในการวิเคราะห์ปัญหาและศักยภาพชุมชน อันได้แก่ ประวัติศาสตร์ชุมชน โครงสร้างองค์กรชุมชน แผนที่เดินดิน และปฏิทินชุมชน ณ ชุมชนทุ่งหมื่นน้อย ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ งานนี้ได้ทั้งองค์ความรู้และได้ฝึกทักษะปฏิบัติการจริงในการศึกษาข้อมูลและศักยภาพชุมชน และต้องขอขอบพระคุณ รศ.รังสรรค์ จันต๊ะ วิทยากรบรรยาย ผู้เป็นทั้งครูและปราชญ์ในชุมชนในการให้ความรู้ ข้อเสนอแนะที่มีคุณค่า และช่วยนัดหมายกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในชุมชน
6 มีนาคม 2568     |      25
โครงการ SI: เรียนรู้สังคมและชุมชน
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมาสาขาวิชานวัตกรรมสังคมได้จัดกิจกรรมศึกษาเรียนรู้ชุมชน ภายใต้โครงการ SI: เรียนรู้สังคมและชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ได้ฝึกประสบการณ์ในการเรียนรู้ข้อมูลชุมชนรวมทั้งได้พัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานด้านนวัตกรรมสังคม เช่น การทำงานร่วมกับผู้อื่น การสื่อสาร การแก้ไขปัญหา เป็นต้น โดยได้ความร่วมมือเป็นอย่างดีกับผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ในพื้นที่ชุมชนแม่ดู่ และชุมชนหนองทราย ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ในการบรรยายให้ความรู้และนำเยี่ยมชมชุมชน
25 กุมภาพันธ์ 2568     |      7768
เข้าร่วมและนำเสนอผลงานวิจัยทั้งระดับนานาชาติและระดับชาติ ในงานประชุมวิชาการ 3rd National Conference and 1st International Conference: Innovations in Language, Culture, Communication, and Well-Being for Sustainable Development
วันที่ 23 สิงหาคม 2567 คณาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรนวัตกรรมสังคม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เข้าร่วมและนำเสนอผลงานวิจัยทั้งระดับนานาชาติและระดับชาติ ในงานประชุมวิชาการ 3rd National Conference and 1st International Conference: Innovations in Language, Culture, Communication, and Well-Being for Sustainable Development ณ โรงแรมเชียงใหม่ออคิด จ.เชียงใหม่โดย 1) อ.พสุนิต สารมาศ นำเสนอผลงานวิจัยในหัวข้อเรื่อง "ต้องลายไทใหญ่" ในบริบทเศรษฐกิจสร้างสรรค์และการท่องเที่ยวจังหวัดแม่ฮ่องสอน 2) ผศ.ดร.จิรวัฒน์ รักชาติ นำเสนอผลงานวิจัยในหัวข้อเรื่อง Karen Youths Movement against Thailand's Development Projects: A Case Study of Karen Youths in Omkoi District, Chiang Mai, Thailand และ 3) ผศ.ดร.อิทธิพงษ์ ทองศรีเกตุ นำเสนอผลงานวิจัยในหัวข้อเรื่อง ประสบการณ์และปฏิบัติการของคนในพื้นที่ชายแดนแม่ฮ่องสอนกับโรคระบาดโควิด-19 โดยบรรยากาศในงานมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงวิชาการ สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับนักวิชาการสถาบันอื่น รวมถึงเป็นโอกาสอันดีในการเรียนรู้แนวคิด ทฤษฏีทางวิชาการ และประเด็นทางสังคมใหม่ ๆ เพื่อเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมสังคมในยุคปัจจุบัน
19 กุมภาพันธ์ 2568     |      1080